วันศุกร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ประวัติส่วนตัว

ประวัติส่วนตัว

นางมณฑิตย์สา มั่นฤกษ์

เกิด วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ.2499

ถึงแก่กรรม วันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ.2552

เป็นบุตรคนที่ 3 ในจำนวน 5 คน

คุณพ่อชื่อ นายเที่ยง มั่นฤกษ์ อาชีพ ทำนา

คุณแม่ชื่อ นางไร มั่นฤกษ์ อาชีพ ทำนา

มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 5 คน คือ

1. นายสมทบ มั่นฤกษ์ อาชีพ เกษตรกร ถึงแก่กรรม

2. นายเชิดศักดิ์ มั่นฤกษ์ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดพระศรีอารย์

อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี

3. นางมณฑิตย์สา มั่นฤกษ์ ตำแหน่ง ครูชำนาญการ โรงเรียนชุมชนวัดใหญ่โพหัก

อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี (ถึงแก่กรรม)

4. นางพรรณสุดา ภู่เต็ง ตำแหน่งครูชำนาญการ โรงเรียนชุมชนวัดใหญ่โพหัก

อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี

5. นายธนโชติ มั่นฤกษ์ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการบริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ กรุงเทพ ฯ

คู่สมรส นายอุดม บุญเต่าน้อย

ประวัติการศึกษา

ปี พ.ศ.

ระดับการศึกษา

สถานศึกษา

2509

ประถมศึกษาปีที่ 4

โรงเรียนวัดใหญ่โพธิ์หัก(โพธิ์เบญจมอุทิศ)

2512

ประถมศึกษาปีที่ 7

โรงเรียนมัธยมวัดใหญ่โพธิ์หัก

2515

มัธยมศึกษาตอนต้น

โรงเรียนมัธยมวัดใหญ่โพธิ์หัก

2518

ประกาศนียบัตรการศึกษา ( ปกศ.)

วิทยาลัยครูหมู่บ้านจอมบึง

2520

การศึกษาด้วยตนเอง สอบวิชาชุด (พ..)

กระทรวงศึกษาธิการ

2526

ปริญญาตรีคุรุศาสตร์บัณฑิต(..)

วิทยาลัยครูธนบุรี

2551

กำลังศึกษาในระดับ ป.บัณฑิต บริหารการศึกษาได้ทุนจากคุรุ-สภา

มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอม-บึง ราชบุรี

ประวัติการรับราชการ(การทำงาน)

เริ่มรับราชการ/ปฏิบัติงาน เมื่อ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ .. 2521

ปี พ.ศ.

ตำแหน่ง

สังกัด

2521

ครู 2 ระดับ 2

โรงเรียนวัดจระเข้ใหญ่อำเภอ บางพลี จังหวัด สมุทร ปราการ

2524

อาจารย์ 1 ระดับ 3

โรงเรียนวัดจระเข้ใหญ่อำเภอ บางพลี จังหวัด สมุทร ปราการ

2529

อาจารย์ 1 ระดับ 4

โรงเรียนวัดจระเข้ใหญ่อำเภอ บางพลี จังหวัด สมุทร ปราการ

2531

อาจารย์ 1 ระดับ 4

โรงเรียนบ้านหนองใยบัว อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี

2532

อาจารย์ 2 ระดับ 5

โรงเรียนบ้านหนองใยบัว อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี

2535

อาจารย์ 2 ระดับ 6

โรงเรียนวัดลำน้ำ อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี

2538

อาจารย์ 2 ระดับ 7

โรงเรียนวัดลำน้ำ อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี

2541

อาจารย์ 2 ระดับ 7

ชุมชนวัดใหญ่โพหัก(โพธิ์เบญจมอุทิศ) อำเภอ บางแพ

จังหวัด ราชบุรี

1. วุฒิทางการศึกษา ปริญญาตรี จากสถานศึกษา วิทยาลัยครูธนบุรี

สาขา วิชาเอก คหกรรมศาสตร์ วิชาโท ศิลปหัตถกรรม

กำลังศึกษาในระดับ ป.บัณฑิต บริหารการศึกษา

2. วุฒิทางลูกเสือ L.T.(อบรม 4 ท่อน รุ่นที่ 36) ปีการศึกษา 2542

จบหลักสูตรลูกเสือชั้นสูงทั้ง 4 ประเภท คือ

ผู้บังคับบัญชาลูกเสือสำรอง ขั้นความรู้ชั้นสูง

ผู้บังคับบัญชาลูกเสือสามัญ ขั้นความรู้ชั้นสูง

ผู้บังคับบัญชาลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ ขั้นความรู้ชั้นสูง

ผู้บังคับบัญชาลูกเสือวิสามัญ ขั้นความรู้ชั้นสูง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่เคยได้รับ

1. .. จตุรถาภรณ์มงกุฎไทย 5 ธันวาคม 2528

2. .. จตุรถาภรณ์ช้างเผือก 5 ธันวาคม 2530

3. .. ตริตาภรณ์มงกุฎไทย 5 ธันวาคม 2534

4. .. ตริตาภรณ์ช้างเผือก 5 ธันวาคม 2536

5. .. ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย 5 ธันวาคม 2540

6. .. ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก 5 ธันวาคม 2544

7. เหรียญจักรพรรดิมาลา 5 ธันวาคม 2547

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่เคยได้รับพระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 2 กำลังรอรับชั้นที่ 1

ตำแหน่งทางสังคม (ชุมชน)

ปี พ.ศ.

ตำแหน่ง

2540

เลขาคณะกรรมการดำเนินงานวันคล้ายวันสถาปนาคณะลูกเสือแห่ง

2541

หัวหน้าฝ่ายจัดประชุมสภาคณะลูกเสือแห่งชาติ

2542

หัวหน้างานกิจกรรม

2543 2546

หัวหน้าแผนกจัตุรัสวัฒนธรรมงานชุมนุมลูกเสือโลก ครั้งที่ 20 ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ

2543

รับผิดชอบงานวัฒนธรรมไทยพื้นถิ่น จังหวัดราชบุรี

22548

เป็นผู้นำชนชาติพันธ์ไทยพื้นถิ่น จังหวัดราชบุรี

จุดที่มุ่งมั่นในการทำความดี

จุดที่มุ่งมั่นในการทำความดี
ในช่วงชีวิตที่รับราชการการจะเป็นคนใฝ่รู้ ไม่ยอมอยู่นิ่งพยายามที่จะฝึกฝนอบรม และจะพยายามทำประโยชน์เพื่อส่วนร่วมมาตลอด ทำงานด้วยใจ ทำด้วยความทุ่มเท ทำงานอย่างมีอุดมการณ์
มีใจตั้งมั่นในการทำความดี คิดว่าตัวเองไม่ได้เกิดมาเป็นทหารรับใช้ชาติ ก็จะทำงานที่ตัวเองทำได้เพื่อส่วนรวมเพื่อประเทศชาติให้ถึงที่สุด เกิดมาแล้วจะได้ไม่เสียชาติเกิดได้ทำประโยชน์ให้แก่แผ่นดิน
พอเริ่มเป็นครูก็จะเริ่มฝึกสอนเด็กรำ สอนดนตรี ในเวลาหลังเลิกเรียนให้กับเด็ก ๆ ที่สนใจ และใจรัก เพื่อไปช่วยงานในชุมชน เช่น งานวัด งานชุมชน งานบวช งานแต่ง งานอำเภอ งานจังหวัด
จะทำงานด้วยใจรัก และคิดว่าอะไรเป็นประโยชน์ต่อเด็ก ทำให้เด็กมีความสุขเราจะทำ ทำเพื่อต่อส่วนรวม ประโยชน์เกิดแก่ส่วนรวมเราก็มีความสุขในการได้ทำงานนั้น
ก็จะทำและยอมเสียสละเวลาส่วนตัวเพื่องานส่วนรวมเสมอมา ทำงานอย่างมีความสุขที่ได้ทำถึงแม้ว่าจะต้องควักเงินในกระเป๋าของตัวเอง เพราะครูมณฑิตย์สาคิดอย่างเดียวว่า
เรารับราชการกินเงินเดือน เป็นข้าพระบาทในหลวงเราจะต้องทำงานตอบแทนให้คุ้มเม็ดเงินที่ท่านจ้างเรา ครูมณฑิตย์สาจะไม่ยอมให้มีบาปติดตัวในเรื่องของการทำงานต้องทำงานให้คุ้มกับเงินค่าจ้าง
ครูมณฑิตย์สาปฏิบัติตนเช่นนี้เรื่อยมาไม่ว่าจะย้ายมาอยู่โรงเรียนไหนก็ตาม ก็จะปฏิบัติตนเช่นนี้เสมอต้นเสมอปลายประกอบกับครอบครัวไม่มีปัญหาไม่ว่าจะทำงานอะไร
จนชีวิตผันผวนเข้ามาทำงานเป็นวิทยากรลูกเสือบรรยายให้ความรู้ทั่วประเทศให้กับครู นักศึกษา นักเรียน เยาวชน ฯลฯ ตั้งแต่ในระดับชั้นต้นจนถึงชั้นสูง ตามค่ายลูกเสือต่างๆ
และได้รับความไว้วางใจให้ทำงานใหญ่ๆในระดับประเทศเช่น การประชุมสภาลูกเสือแห่งชาติ งานชุมนุมลูกเสือต่างๆ จนได้รับคัดเลือกให้เป็นหัวหน้างานในงานชุมนุมลูกเสือโลกครั้งที่ 20
แม้ไม่เคยเข้าร่วมงานชุมนุมลูกเสือโลกมาก่อนแต่เมื่อได้รับความไว้วางใจมอบหมายให้ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าแผนกกิจกรรมจัตุรัสวัฒนธรรม ในงานชุมนุมลูกเสือโลก ครั้งที่ 20 พ.ศ.2546
ระหว่างวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ.2545 ถึงวันที่ 7 มกราคม พ.ศ.2546 ณ บริเวณหาดยาว ตำบลแสมสาร อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ก็อดภาคภูมิใจไม่ได้และได้พยามยามทำหน้าที่ให้ดีที่สุด
เพื่อศักดิ์ศรีของประเทศไทยอันเป็นที่รักยิ่งของเรา และเพื่อเป็นการตอบแทนแผ่นดินเกิด จนได้รับการตอบรับจากคณะลูกเสือทั้งไทยและต่างชาติที่เข้าร่วมงานชุมนุมลูกเสือโลก ครั้งที่ 20
ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ว่ากิจกรรมจัตุรัสวัฒนธรรมเป็นกิจกรรมที่ประสบความสำเร็จสูงสุด คือแผนกจัตุรัสวัฒนธรรมในเขตเอเชีย และได้มีโอกาสเดินทางไปดูงานวัฒนธรรมทั่วประเทศ รวมทั้งประเทศเพื่อนบ้าน
จนทำให้ผลงานที่ออกมาเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป เมื่องานลูกเสือเสร็จสิ้นแล้วท่านผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี ต้องการจะนำจุดขายของจังหวัดราชบุรีในเรื่องการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
จึงต้องการให้ครูมณฑิตย์สาไปช่วยและรับมอบหมายให้เป็นผู้นำชนชาติพันธุ์ไทยพื้นถิ่น ซึ่งเป็นชาติพันธุ์หนึ่งใน 8 ชาติพันธุ์ ของจังหวัดราชบุรี ครูมณฑิตย์สาด้วยความที่เป็นคนเกิดในตำบลโพหัก
จึงอยากที่จะทำให้บ้านเกิดของตัวเองมีจุดขาย จึงพยายามมองดูว่ามีอะไรบ้าง ก็เริ่มดำเนินการขุดค้น ฟื้นฟูมาตั้งแต่ปลายปี 2543 เป็นต้นมา โดยใช้ความพยายามเข้าพบชุมชน เข้าหาถึงบ้านผู้แก่ผู้เฒ่า
เข้าไปคุยกับเขาถึงเรื่องราวต่างๆ ที่ต้องการรู้เช่น การรำโทนบ้านโพหัก การปลูกเรือหอภายในวันเดียว ประเพณีอาสาของชาวโพหัก การสวดคฤหัสถ์ในงานศพ การแห่นางแมว การแข่งเรือบก ซึ่งบางอย่างได้สูญหายไปแล้วกว่า 50 ปี
ครูมณฑิตย์สาพยายามรวบรวม และพลิกฟื้นให้กลับคืนมาโดยการจัดงานประเพณีเข้าพรรษาโพหักอณุรักษ์วิถีไทยพื้นถิ่น เมื่อปี 2549 เป็นปีแรก เพื่อนำเข้าสู่การโฆษณาเมืองราชบุรี เรื่องการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
ก่อนการจัดงานครูมณฑิตย์สาได้พยายามที่จะหาเครือข่ายให้เข้ามาช่วยเหลือหรือร่วมมือ โดยการเผยแพร่ทางผู้สูงอายุก่อนแล้วลงมาสู่เด็กซึ่งเป็นกำลังอยู่ในมือของเรา จนถึงชาวบ้านทั้ง 11 หมู่บ้าน
เห็นความสำคัญจึงได้ให้ความร่วมมือในการจัดงานฟื้นฟูและอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยพื้นถิ่น(โพหัก) มาจนถึงปีนี้เป็นปีที่ สามแล้ว โดยท่านผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรีให้การสนับสนุนมาตลอด(ครูมณฑิตย์สาวิ่งทางท่านผู้ว่าราชการจังหวัดให้ท่านช่วยในเรื่องงบประมาณ)
และชาวบ้านช่วยร่วมแรง จนทำให้ชนชาติพันธุ์ไทยพื้นถิ่นโพหักได้ประกาศชื่อเสียงไปทั่วทั้งจังหวัดและในระดับประเทศถึงเรื่องวัฒนธรรมของคนไทยพื้นถิ่นโพหักที่ยังอนุรักษ์ไว้ได้และมีคุณค่าควรแก่การรักษาสืบทอดและการศึกษาของชนชั้นหลังสืบไป
ปี พ.ศ. 2543 ได้รับมอบหมายจากท่านศึกษาอำเภอบางแพให้จัดการแสดงถึงวัฒนธรรมของชุมชนในอำเภอบางแพ นี่คือจุดเริ่มให้ครูมณฑิตย์สาต้องศึกษาหาข้อมูลในเรื่องวัฒนธรรมของชาวโพหักอำเภอบางแพ
และลงมือทำอย่างจริงจังเพื่อให้ได้เนื้อหาที่ดีที่สุด หลังจากเลิกทำการสอนครูมณฑิตย์สาก็จะเข้าไปหาชาวบ้านตามบ้านต่าง ๆ ที่ครูมณฑิตย์สาได้วางแผนไว้ว่าจะไปสืบค้นอะไร ไปนั่งคุยกับเขาทุกวันตั้งแต่เวลา 16.00 น. ถึง 22.00 น. ทุกวันจนได้ข้อมูลแล้วมาจัดเก็บ จัดทำเป็นเรื่องแต่ละเรื่อง
ปี พ.ศ.2543 ได้เป็นที่ปรึกษาชมรมผู้สูงอายุตำบลโพหัก ดูแลผู้สูงอายุในเรื่องของนันทนาการการบันเทิง หากิจกรรมให้ทำในยามว่าง ฝึกให้ร้องรำทำเพลงได้สนุกสนานมีความสุขมีกิจกรรมทำร่วมกัน
นำผู้สูงอายุไปแสดงในงานต่างๆ ทั้งที่ในชุมชน อำเภอ และจังหวัด ทำให้ผู้สูงอายุมีความรู้สึกว่าตัวเองมีค่า และมีประโยชน์ต่อคนรุ่นหลัง
ปี พ.ศ. 2548 ได้จัดหาเครื่องดนตรีไทยอังกะลุง โดยครูมณฑิตย์สาขอบริจาคจากญาติ และผู้ใกล้ชิด ผู้มีจิตศรัทธา โดยไม่เกี่ยวกับงบของทางโรงเรียนเลย แล้วสอนให้กับเด็กที่ในชุมชนให้เด็กได้เล่น
เพื่อหวังให้เด็กได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับสิ่งเสพติด และการพนัน เพราะเด็กที่ในชุมชนนี้จะอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ชอบการพนันมาก เช่น การชนไก่ กีฬาวัวลาน การแข่งเรือ เล่นไพ่ เล่นการพนัน
และมียาเสพติด ครูมณฑิตย์สาจึงคิดจัดหาดนตรีไทยให้เด็กได้เล่นเพื่อให้ห่างไกลสิ่งเหล่านั้น เมื่อเด็กเขาเล่นได้ เขาก็จะมีค่าตอบแทนจากการที่เขาไปเล่นดนตรีตามงานต่าง ๆ เช่น งานศพ งานบวชพระ งานของชุมชน
กฐิน ผ้าป่า งานตำบล งานอำเภอ ตลอดถึงงานในระดับจังหวัด ห้างร้านค้า บริษัท ฯลฯ ทำให้เด็กได้มีความรู้และมีจิตใจที่จะช่วยเหลือผู้อื่น
ปี พ.ศ. 2549 ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดราชบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ได้พิจารณาบุคคลผู้มีผลงานวัฒนธรรมให้เป็นศิลปินดีเด่นจังหวัดราชบุรีประจำปี 2549 ศิลปินดีเด่นจังหวัดราชบุรี สาขาผู้ทำคุณประโยชน์ทางด้านวัฒนธรรม (นันทนาการ)
ปี พ.ศ.2550 ได้รับความไว้วางใจให้ทำหน้าที่หัวหน้ามัคคุเทศก์ในโครงการผู้ว่าพาครูเที่ยว “ วันเดียวเที่ยวราชบุรี” โดยนำพาคณะคุณครูทั้งจังหวัดราชบุรีเที่ยวจังหวัดราชบุรี โดยมีเส้นทางการท่องเที่ยว 5 เส้นทางดังนี้
1.เส้นทางสายดำเนินสะดวก
2.เส้นทางสายโพธาราม
3.เส้นทางสายบ้านคา
4.เส้นทางสายสวนผึ้ง
5.เส้นทางสายอำเภอเมือง
ครูมณฑิตย์สาได้รับผิดชอบเส้นทางสายที่ 4 สู่อำเภอสวนผึ้ง ซึ่งเป็นที่ได้รับความสนใจจากครูในจังหวัดราชบุรีมากที่สุด

วันอาทิตย์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2552


ประเพณีการโกนจุก