วันศุกร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

จุดที่มุ่งมั่นในการทำความดี

จุดที่มุ่งมั่นในการทำความดี
ในช่วงชีวิตที่รับราชการการจะเป็นคนใฝ่รู้ ไม่ยอมอยู่นิ่งพยายามที่จะฝึกฝนอบรม และจะพยายามทำประโยชน์เพื่อส่วนร่วมมาตลอด ทำงานด้วยใจ ทำด้วยความทุ่มเท ทำงานอย่างมีอุดมการณ์
มีใจตั้งมั่นในการทำความดี คิดว่าตัวเองไม่ได้เกิดมาเป็นทหารรับใช้ชาติ ก็จะทำงานที่ตัวเองทำได้เพื่อส่วนรวมเพื่อประเทศชาติให้ถึงที่สุด เกิดมาแล้วจะได้ไม่เสียชาติเกิดได้ทำประโยชน์ให้แก่แผ่นดิน
พอเริ่มเป็นครูก็จะเริ่มฝึกสอนเด็กรำ สอนดนตรี ในเวลาหลังเลิกเรียนให้กับเด็ก ๆ ที่สนใจ และใจรัก เพื่อไปช่วยงานในชุมชน เช่น งานวัด งานชุมชน งานบวช งานแต่ง งานอำเภอ งานจังหวัด
จะทำงานด้วยใจรัก และคิดว่าอะไรเป็นประโยชน์ต่อเด็ก ทำให้เด็กมีความสุขเราจะทำ ทำเพื่อต่อส่วนรวม ประโยชน์เกิดแก่ส่วนรวมเราก็มีความสุขในการได้ทำงานนั้น
ก็จะทำและยอมเสียสละเวลาส่วนตัวเพื่องานส่วนรวมเสมอมา ทำงานอย่างมีความสุขที่ได้ทำถึงแม้ว่าจะต้องควักเงินในกระเป๋าของตัวเอง เพราะครูมณฑิตย์สาคิดอย่างเดียวว่า
เรารับราชการกินเงินเดือน เป็นข้าพระบาทในหลวงเราจะต้องทำงานตอบแทนให้คุ้มเม็ดเงินที่ท่านจ้างเรา ครูมณฑิตย์สาจะไม่ยอมให้มีบาปติดตัวในเรื่องของการทำงานต้องทำงานให้คุ้มกับเงินค่าจ้าง
ครูมณฑิตย์สาปฏิบัติตนเช่นนี้เรื่อยมาไม่ว่าจะย้ายมาอยู่โรงเรียนไหนก็ตาม ก็จะปฏิบัติตนเช่นนี้เสมอต้นเสมอปลายประกอบกับครอบครัวไม่มีปัญหาไม่ว่าจะทำงานอะไร
จนชีวิตผันผวนเข้ามาทำงานเป็นวิทยากรลูกเสือบรรยายให้ความรู้ทั่วประเทศให้กับครู นักศึกษา นักเรียน เยาวชน ฯลฯ ตั้งแต่ในระดับชั้นต้นจนถึงชั้นสูง ตามค่ายลูกเสือต่างๆ
และได้รับความไว้วางใจให้ทำงานใหญ่ๆในระดับประเทศเช่น การประชุมสภาลูกเสือแห่งชาติ งานชุมนุมลูกเสือต่างๆ จนได้รับคัดเลือกให้เป็นหัวหน้างานในงานชุมนุมลูกเสือโลกครั้งที่ 20
แม้ไม่เคยเข้าร่วมงานชุมนุมลูกเสือโลกมาก่อนแต่เมื่อได้รับความไว้วางใจมอบหมายให้ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าแผนกกิจกรรมจัตุรัสวัฒนธรรม ในงานชุมนุมลูกเสือโลก ครั้งที่ 20 พ.ศ.2546
ระหว่างวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ.2545 ถึงวันที่ 7 มกราคม พ.ศ.2546 ณ บริเวณหาดยาว ตำบลแสมสาร อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ก็อดภาคภูมิใจไม่ได้และได้พยามยามทำหน้าที่ให้ดีที่สุด
เพื่อศักดิ์ศรีของประเทศไทยอันเป็นที่รักยิ่งของเรา และเพื่อเป็นการตอบแทนแผ่นดินเกิด จนได้รับการตอบรับจากคณะลูกเสือทั้งไทยและต่างชาติที่เข้าร่วมงานชุมนุมลูกเสือโลก ครั้งที่ 20
ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ว่ากิจกรรมจัตุรัสวัฒนธรรมเป็นกิจกรรมที่ประสบความสำเร็จสูงสุด คือแผนกจัตุรัสวัฒนธรรมในเขตเอเชีย และได้มีโอกาสเดินทางไปดูงานวัฒนธรรมทั่วประเทศ รวมทั้งประเทศเพื่อนบ้าน
จนทำให้ผลงานที่ออกมาเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป เมื่องานลูกเสือเสร็จสิ้นแล้วท่านผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี ต้องการจะนำจุดขายของจังหวัดราชบุรีในเรื่องการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
จึงต้องการให้ครูมณฑิตย์สาไปช่วยและรับมอบหมายให้เป็นผู้นำชนชาติพันธุ์ไทยพื้นถิ่น ซึ่งเป็นชาติพันธุ์หนึ่งใน 8 ชาติพันธุ์ ของจังหวัดราชบุรี ครูมณฑิตย์สาด้วยความที่เป็นคนเกิดในตำบลโพหัก
จึงอยากที่จะทำให้บ้านเกิดของตัวเองมีจุดขาย จึงพยายามมองดูว่ามีอะไรบ้าง ก็เริ่มดำเนินการขุดค้น ฟื้นฟูมาตั้งแต่ปลายปี 2543 เป็นต้นมา โดยใช้ความพยายามเข้าพบชุมชน เข้าหาถึงบ้านผู้แก่ผู้เฒ่า
เข้าไปคุยกับเขาถึงเรื่องราวต่างๆ ที่ต้องการรู้เช่น การรำโทนบ้านโพหัก การปลูกเรือหอภายในวันเดียว ประเพณีอาสาของชาวโพหัก การสวดคฤหัสถ์ในงานศพ การแห่นางแมว การแข่งเรือบก ซึ่งบางอย่างได้สูญหายไปแล้วกว่า 50 ปี
ครูมณฑิตย์สาพยายามรวบรวม และพลิกฟื้นให้กลับคืนมาโดยการจัดงานประเพณีเข้าพรรษาโพหักอณุรักษ์วิถีไทยพื้นถิ่น เมื่อปี 2549 เป็นปีแรก เพื่อนำเข้าสู่การโฆษณาเมืองราชบุรี เรื่องการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
ก่อนการจัดงานครูมณฑิตย์สาได้พยายามที่จะหาเครือข่ายให้เข้ามาช่วยเหลือหรือร่วมมือ โดยการเผยแพร่ทางผู้สูงอายุก่อนแล้วลงมาสู่เด็กซึ่งเป็นกำลังอยู่ในมือของเรา จนถึงชาวบ้านทั้ง 11 หมู่บ้าน
เห็นความสำคัญจึงได้ให้ความร่วมมือในการจัดงานฟื้นฟูและอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยพื้นถิ่น(โพหัก) มาจนถึงปีนี้เป็นปีที่ สามแล้ว โดยท่านผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรีให้การสนับสนุนมาตลอด(ครูมณฑิตย์สาวิ่งทางท่านผู้ว่าราชการจังหวัดให้ท่านช่วยในเรื่องงบประมาณ)
และชาวบ้านช่วยร่วมแรง จนทำให้ชนชาติพันธุ์ไทยพื้นถิ่นโพหักได้ประกาศชื่อเสียงไปทั่วทั้งจังหวัดและในระดับประเทศถึงเรื่องวัฒนธรรมของคนไทยพื้นถิ่นโพหักที่ยังอนุรักษ์ไว้ได้และมีคุณค่าควรแก่การรักษาสืบทอดและการศึกษาของชนชั้นหลังสืบไป
ปี พ.ศ. 2543 ได้รับมอบหมายจากท่านศึกษาอำเภอบางแพให้จัดการแสดงถึงวัฒนธรรมของชุมชนในอำเภอบางแพ นี่คือจุดเริ่มให้ครูมณฑิตย์สาต้องศึกษาหาข้อมูลในเรื่องวัฒนธรรมของชาวโพหักอำเภอบางแพ
และลงมือทำอย่างจริงจังเพื่อให้ได้เนื้อหาที่ดีที่สุด หลังจากเลิกทำการสอนครูมณฑิตย์สาก็จะเข้าไปหาชาวบ้านตามบ้านต่าง ๆ ที่ครูมณฑิตย์สาได้วางแผนไว้ว่าจะไปสืบค้นอะไร ไปนั่งคุยกับเขาทุกวันตั้งแต่เวลา 16.00 น. ถึง 22.00 น. ทุกวันจนได้ข้อมูลแล้วมาจัดเก็บ จัดทำเป็นเรื่องแต่ละเรื่อง
ปี พ.ศ.2543 ได้เป็นที่ปรึกษาชมรมผู้สูงอายุตำบลโพหัก ดูแลผู้สูงอายุในเรื่องของนันทนาการการบันเทิง หากิจกรรมให้ทำในยามว่าง ฝึกให้ร้องรำทำเพลงได้สนุกสนานมีความสุขมีกิจกรรมทำร่วมกัน
นำผู้สูงอายุไปแสดงในงานต่างๆ ทั้งที่ในชุมชน อำเภอ และจังหวัด ทำให้ผู้สูงอายุมีความรู้สึกว่าตัวเองมีค่า และมีประโยชน์ต่อคนรุ่นหลัง
ปี พ.ศ. 2548 ได้จัดหาเครื่องดนตรีไทยอังกะลุง โดยครูมณฑิตย์สาขอบริจาคจากญาติ และผู้ใกล้ชิด ผู้มีจิตศรัทธา โดยไม่เกี่ยวกับงบของทางโรงเรียนเลย แล้วสอนให้กับเด็กที่ในชุมชนให้เด็กได้เล่น
เพื่อหวังให้เด็กได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับสิ่งเสพติด และการพนัน เพราะเด็กที่ในชุมชนนี้จะอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ชอบการพนันมาก เช่น การชนไก่ กีฬาวัวลาน การแข่งเรือ เล่นไพ่ เล่นการพนัน
และมียาเสพติด ครูมณฑิตย์สาจึงคิดจัดหาดนตรีไทยให้เด็กได้เล่นเพื่อให้ห่างไกลสิ่งเหล่านั้น เมื่อเด็กเขาเล่นได้ เขาก็จะมีค่าตอบแทนจากการที่เขาไปเล่นดนตรีตามงานต่าง ๆ เช่น งานศพ งานบวชพระ งานของชุมชน
กฐิน ผ้าป่า งานตำบล งานอำเภอ ตลอดถึงงานในระดับจังหวัด ห้างร้านค้า บริษัท ฯลฯ ทำให้เด็กได้มีความรู้และมีจิตใจที่จะช่วยเหลือผู้อื่น
ปี พ.ศ. 2549 ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดราชบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ได้พิจารณาบุคคลผู้มีผลงานวัฒนธรรมให้เป็นศิลปินดีเด่นจังหวัดราชบุรีประจำปี 2549 ศิลปินดีเด่นจังหวัดราชบุรี สาขาผู้ทำคุณประโยชน์ทางด้านวัฒนธรรม (นันทนาการ)
ปี พ.ศ.2550 ได้รับความไว้วางใจให้ทำหน้าที่หัวหน้ามัคคุเทศก์ในโครงการผู้ว่าพาครูเที่ยว “ วันเดียวเที่ยวราชบุรี” โดยนำพาคณะคุณครูทั้งจังหวัดราชบุรีเที่ยวจังหวัดราชบุรี โดยมีเส้นทางการท่องเที่ยว 5 เส้นทางดังนี้
1.เส้นทางสายดำเนินสะดวก
2.เส้นทางสายโพธาราม
3.เส้นทางสายบ้านคา
4.เส้นทางสายสวนผึ้ง
5.เส้นทางสายอำเภอเมือง
ครูมณฑิตย์สาได้รับผิดชอบเส้นทางสายที่ 4 สู่อำเภอสวนผึ้ง ซึ่งเป็นที่ได้รับความสนใจจากครูในจังหวัดราชบุรีมากที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น