รำโทนโพหัก
ประวัติความเป็นมา
เพลงรำโทนโพหัก เป็นเพลงพื้นบ้านที่เกิดต่อจากเพลงโอก เพลงสงฟาง เพลงสงคอลำพรวน เพลงพานฟาง เพลงชักกระดาน ของคนโพหัก เป็นต้น ซึ่งการละเล่นนี้มีมาตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือประมาณปี พ.ศ.2479 เป็นเพลงที่ร้องเล่นกันระหว่างหนุ่มสาว เกี้ยวพาราสีกัน โดยจะแสดงในงานรื่นเริง เช่น งานตรุษ งานสงกรานต์ และ งานประเพณี เช่นงานทอดกฐิน แข่งเรือ แสดงกันบริเวณวัด ซึ่งจะเป็นการพบปะกันระหว่างชายหนุ่มกับหญิงสาว เนื้อเพลงและท่ารำก็จะเป็นการเกี้ยวพาราสีกันระหว่างชายหนุ่มกับหญิงสาวในหมู่บ้านและต่างถิ่น จะเริ่มแสดงในช่วงหัวค่ำจนถึงเช้าของวันรุ่งขึ้น และแสดงภายใต้แสงคบเพลิงหรือแสงจากตะเกียงอีด้า (ตะเกียงเจ้าพายุ) เพราะในสมัยนั้นยังไม่มีไฟฟ้าใช้
รำโทนโพหักได้สูญหายไป 70 กว่าปีแล้ว อาจเนืองมาจากความเจริญของบ้านเมืองและมีการละเล่นอื่นๆเกิดขึ้นอีกมากมาย ทำให้ผู้คนหันไปสนใจของใหม่ จึงเป็นสาเหตุทำให้รำโทนโพหักหายไป
ในปี พ.ศ.2541 อาจารย์มณฑิตย์สา มั่นฤกษ์ ครู โรงเรียนชุมชนวัดใหญ่โพหัก ซึ่งเป็นลูกเกิดโพหัก ได้ย้ายมาสอนที่บ้านเกิด เห็นว่าศิลปวัฒนธรรมของโพหักมีมากมาย บางอย่างก็คงอยู่ และอีกหลายอย่างได้สูญหายไปแล้ว จึงคิดที่จะขุดค้นส่วนที่สูญหายให้กลับคืนมา ก็เริ่มศึกษาค้นคว้าจากญาติผู้ใหญ่ให้ท่านเล่าให้ฟัง แล้วเก็บข้อมูลไว้ ในปี 2543 อาจารย์มณฑิตย์สา มั่นฤกษ์ ได้ทำการขุดค้นอย่างจริงจัง โดยการเข้าถึงคนเฒ่าคนแก่ที่ยังพอจำเรื่องราวได้ ศึกษาหาข้อมูล และรวบรวมประวัติความเป็นมาทุกวันหลังเวลาราชการ พูดคุยกับชาวบ้านจนดึกดื่นทุกคืนที่ออกหาข้อมูล วันละ 2-3 บ้านต่อวัน ได้ข้อมูลและเนื้อเพลงรำโทนโพหัก แล้วนำมาฝึกร้องฝึกรำ โดยเริ่มต้นจากกลุ่มผู้สูงอายุโพหัก ทำให้เพลงรำโทนโพหักได้กลับฟื้นคืนมา ในปี พ.ศ. 2543 และได้นำไปแสดงในงานเที่ยวราชบุรีปี 2001 เป็นครั้งแรก ได้รับการตอบรับจากผู้ชม นักท่องเที่ยวอย่างมากมาย เขาพูดกันว่าแปลกดีไม่เคยเห็น บางคนชอบเนื้อเพลงที่ร้องมาขอเอาไป สถาบันการศึกษาให้ความสนใจมากเข้ามาสอบถามความเป็นมาสำนักวัฒนธรรมจังหวัดราชบุรีให้วิทยาลัยครูราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง มาถ่ายทำเป็น วี.ดี.โอ. ต่อจากนั้นก็ได้นำไปเผยแพร่ในระดับมหาวิทยาลัยอีกหลายแห่ง วิทยาลัยราชภัฏนครปฐมก็ส่งนักศึกษา สาขา นาฎศิลป์มาเรียนรู้ รวมถึงสื่อมวลชนต่าง ๆ มาให้ความสนใจมาขอถ่ายทำเป็นสารคดีออกทางโทรทัศน์ทุกช่อง (ช่อง 3 ,5 ,7, 9, 11)และได้นำไปแสดงงานวัฒนธรรมของอำเภอ และจังหวัดราชบุรี รวมถึงจังหวัดใกล้เคียง ตลอดมา อาจารย์มณพิตย์สา มั่นฤกษ์ ได้เริ่มขยายการฝึกร้องฝึกรำจากผู้สูงอายุ มาถึงคนหนุ่มสาวและถึงเด็กประถมศึกษาในโรงเรียน รวมทั้งชาวบ้านทั้ง 11 หมู่บ้านในตำบลโพหัก อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี ฝึกรำโทนเป็นกันทั้งตำบล
ในปี พ.ศ.2549 อาจารย์มณพิตย์สา มั่นฤกษ์ ได้เป็นผู้ริเริ่มจัดงานฟื้นฟูและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยพื้นถิ่นขึ้น เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ.2549 โดยใช้ชื่องานว่า “เทศกาลเข้าพรรษาโพหักอนุรักษ์วิถีไทยพื้นถิ่น ครั้งที่ 1 โดยเชิญให้ท่านนายอำเภอบางแพ (นายเจน รัตนพิเชษฐ์ชัย) เป็นประธานจัดงาน และเชิญท่านผู้ว่าราชการจังหวัด
ราชบุรี นายวงษ์ศักดิ์ สวัสดิ์พาณิช เป็นประธานเปิดงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะเผยแพร่และอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของชนชาติพันธ์ไทยพื้นถิ่น(โพหัก) ซึ่งเป็นชนชาติพันธ์หนึ่งใน 8 ชนเผ่าของจังหวัดราชบุรี และเพื่อกระตุ้นปลุกจิตสำนึกให้คนโพหักรักและหวงแหนมรดกที่บรรพชนสร้างไว้ให้ รู้จักรักและหวงแหนและช่วยกันรักษาสืบต่อไปถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน และได้จัดงานเป็นประเพณีติดต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน กิจกรรมมีหลากหลายล้วนเป็นศิลปวัฒนธรรมไทยพื้นถิ่นทั้งสิ้น รวมถึงการจัดประกวดรำโทนโพหัก ตั้งแต่ผู้ใหญ่ และเด็ก ทั้ง 11 หมู่บ้านทุกปี จนทุกวันนี้มีความมั่นใจแล้วว่า “รำโทนโพหัก”ไม่มีวันสูญหายไปอีกแล้ว ผลของการจัดงานเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย ท่านผู้ใหญ่ในจังหวัดให้การสนับสนุน โดยเฉพาะท่านผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี และท่านนายอำเภอบางแพ ท่านจัดหางบประมาณให้มาถึง 3 ปี สำนักงานกีท่องเที่ยวและนันทนาการจังหวัดราชบุรี ได้นำงานนี้ลงในปฏิทินการท่องเที่ยวแล้วในปี พ.ศ.2551
ลักษณะการแสดงรำโทนโพหัก
1. มีพ่อเพลง แม่เพลง เป็นผู้ร้องเพลงเชียร์ให้รำ
2. มีเครื่องดนตรีประกอบจังหวะในการร้องการรำ คือ โทน ฉิ่ง ฉาบ กรับ
3. ผู้แสดง ชาย – หญิง รำกันเป็นคู่ ๆ เดินรำเป็นวง (จะนิยมเดินวนซ้ายมือ)
4. การแต่งกายของผู้แสดง แต่งกายตามพื้นบ้านสมัยนั้น คือ
ชาย จะนุ่งโจงกระเบน ใส่เสื้อคอกลมผ่าหน้าหลากสี(ใช้ผ้าสี)
หญิง จะนุ่งโจงกระเบน ใส่เสื้อคออ้อม(คล้ายเสื้อกระโปรง) ห่มทับด้วยผ้าสไบ (ดังภาพ)
ก
ประวัติความเป็นมา
เพลงรำโทนโพหัก เป็นเพลงพื้นบ้านที่เกิดต่อจากเพลงโอก เพลงสงฟาง เพลงสงคอลำพรวน เพลงพานฟาง เพลงชักกระดาน ของคนโพหัก เป็นต้น ซึ่งการละเล่นนี้มีมาตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือประมาณปี พ.ศ.2479 เป็นเพลงที่ร้องเล่นกันระหว่างหนุ่มสาว เกี้ยวพาราสีกัน โดยจะแสดงในงานรื่นเริง เช่น งานตรุษ งานสงกรานต์ และ งานประเพณี เช่นงานทอดกฐิน แข่งเรือ แสดงกันบริเวณวัด ซึ่งจะเป็นการพบปะกันระหว่างชายหนุ่มกับหญิงสาว เนื้อเพลงและท่ารำก็จะเป็นการเกี้ยวพาราสีกันระหว่างชายหนุ่มกับหญิงสาวในหมู่บ้านและต่างถิ่น จะเริ่มแสดงในช่วงหัวค่ำจนถึงเช้าของวันรุ่งขึ้น และแสดงภายใต้แสงคบเพลิงหรือแสงจากตะเกียงอีด้า (ตะเกียงเจ้าพายุ) เพราะในสมัยนั้นยังไม่มีไฟฟ้าใช้
รำโทนโพหักได้สูญหายไป 70 กว่าปีแล้ว อาจเนืองมาจากความเจริญของบ้านเมืองและมีการละเล่นอื่นๆเกิดขึ้นอีกมากมาย ทำให้ผู้คนหันไปสนใจของใหม่ จึงเป็นสาเหตุทำให้รำโทนโพหักหายไป
ในปี พ.ศ.2541 อาจารย์มณฑิตย์สา มั่นฤกษ์ ครู โรงเรียนชุมชนวัดใหญ่โพหัก ซึ่งเป็นลูกเกิดโพหัก ได้ย้ายมาสอนที่บ้านเกิด เห็นว่าศิลปวัฒนธรรมของโพหักมีมากมาย บางอย่างก็คงอยู่ และอีกหลายอย่างได้สูญหายไปแล้ว จึงคิดที่จะขุดค้นส่วนที่สูญหายให้กลับคืนมา ก็เริ่มศึกษาค้นคว้าจากญาติผู้ใหญ่ให้ท่านเล่าให้ฟัง แล้วเก็บข้อมูลไว้ ในปี 2543 อาจารย์มณฑิตย์สา มั่นฤกษ์ ได้ทำการขุดค้นอย่างจริงจัง โดยการเข้าถึงคนเฒ่าคนแก่ที่ยังพอจำเรื่องราวได้ ศึกษาหาข้อมูล และรวบรวมประวัติความเป็นมาทุกวันหลังเวลาราชการ พูดคุยกับชาวบ้านจนดึกดื่นทุกคืนที่ออกหาข้อมูล วันละ 2-3 บ้านต่อวัน ได้ข้อมูลและเนื้อเพลงรำโทนโพหัก แล้วนำมาฝึกร้องฝึกรำ โดยเริ่มต้นจากกลุ่มผู้สูงอายุโพหัก ทำให้เพลงรำโทนโพหักได้กลับฟื้นคืนมา ในปี พ.ศ. 2543 และได้นำไปแสดงในงานเที่ยวราชบุรีปี 2001 เป็นครั้งแรก ได้รับการตอบรับจากผู้ชม นักท่องเที่ยวอย่างมากมาย เขาพูดกันว่าแปลกดีไม่เคยเห็น บางคนชอบเนื้อเพลงที่ร้องมาขอเอาไป สถาบันการศึกษาให้ความสนใจมากเข้ามาสอบถามความเป็นมาสำนักวัฒนธรรมจังหวัดราชบุรีให้วิทยาลัยครูราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง มาถ่ายทำเป็น วี.ดี.โอ. ต่อจากนั้นก็ได้นำไปเผยแพร่ในระดับมหาวิทยาลัยอีกหลายแห่ง วิทยาลัยราชภัฏนครปฐมก็ส่งนักศึกษา สาขา นาฎศิลป์มาเรียนรู้ รวมถึงสื่อมวลชนต่าง ๆ มาให้ความสนใจมาขอถ่ายทำเป็นสารคดีออกทางโทรทัศน์ทุกช่อง (ช่อง 3 ,5 ,7, 9, 11)และได้นำไปแสดงงานวัฒนธรรมของอำเภอ และจังหวัดราชบุรี รวมถึงจังหวัดใกล้เคียง ตลอดมา อาจารย์มณพิตย์สา มั่นฤกษ์ ได้เริ่มขยายการฝึกร้องฝึกรำจากผู้สูงอายุ มาถึงคนหนุ่มสาวและถึงเด็กประถมศึกษาในโรงเรียน รวมทั้งชาวบ้านทั้ง 11 หมู่บ้านในตำบลโพหัก อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี ฝึกรำโทนเป็นกันทั้งตำบล
ในปี พ.ศ.2549 อาจารย์มณพิตย์สา มั่นฤกษ์ ได้เป็นผู้ริเริ่มจัดงานฟื้นฟูและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยพื้นถิ่นขึ้น เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ.2549 โดยใช้ชื่องานว่า “เทศกาลเข้าพรรษาโพหักอนุรักษ์วิถีไทยพื้นถิ่น ครั้งที่ 1 โดยเชิญให้ท่านนายอำเภอบางแพ (นายเจน รัตนพิเชษฐ์ชัย) เป็นประธานจัดงาน และเชิญท่านผู้ว่าราชการจังหวัด
ราชบุรี นายวงษ์ศักดิ์ สวัสดิ์พาณิช เป็นประธานเปิดงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะเผยแพร่และอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของชนชาติพันธ์ไทยพื้นถิ่น(โพหัก) ซึ่งเป็นชนชาติพันธ์หนึ่งใน 8 ชนเผ่าของจังหวัดราชบุรี และเพื่อกระตุ้นปลุกจิตสำนึกให้คนโพหักรักและหวงแหนมรดกที่บรรพชนสร้างไว้ให้ รู้จักรักและหวงแหนและช่วยกันรักษาสืบต่อไปถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน และได้จัดงานเป็นประเพณีติดต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน กิจกรรมมีหลากหลายล้วนเป็นศิลปวัฒนธรรมไทยพื้นถิ่นทั้งสิ้น รวมถึงการจัดประกวดรำโทนโพหัก ตั้งแต่ผู้ใหญ่ และเด็ก ทั้ง 11 หมู่บ้านทุกปี จนทุกวันนี้มีความมั่นใจแล้วว่า “รำโทนโพหัก”ไม่มีวันสูญหายไปอีกแล้ว ผลของการจัดงานเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย ท่านผู้ใหญ่ในจังหวัดให้การสนับสนุน โดยเฉพาะท่านผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี และท่านนายอำเภอบางแพ ท่านจัดหางบประมาณให้มาถึง 3 ปี สำนักงานกีท่องเที่ยวและนันทนาการจังหวัดราชบุรี ได้นำงานนี้ลงในปฏิทินการท่องเที่ยวแล้วในปี พ.ศ.2551
ลักษณะการแสดงรำโทนโพหัก
1. มีพ่อเพลง แม่เพลง เป็นผู้ร้องเพลงเชียร์ให้รำ
2. มีเครื่องดนตรีประกอบจังหวะในการร้องการรำ คือ โทน ฉิ่ง ฉาบ กรับ
3. ผู้แสดง ชาย – หญิง รำกันเป็นคู่ ๆ เดินรำเป็นวง (จะนิยมเดินวนซ้ายมือ)
4. การแต่งกายของผู้แสดง แต่งกายตามพื้นบ้านสมัยนั้น คือ
ชาย จะนุ่งโจงกระเบน ใส่เสื้อคอกลมผ่าหน้าหลากสี(ใช้ผ้าสี)
หญิง จะนุ่งโจงกระเบน ใส่เสื้อคออ้อม(คล้ายเสื้อกระโปรง) ห่มทับด้วยผ้าสไบ (ดังภาพ)
ก
( ลักษณะการแต่งกายของหญิงไทยพื้นถิ่น )
ลักษณะเด่นของรำโทนโพหัก
รำโทนโพหักจะมีลักษณะโดดเด่นทั้งเพลงที่ร้องและท่าทางการร่ายรำ เพลงที่ร้องจะมีเนื้อร้องและทำนองที่สนุกสนาน ปลุกอารมณ์ให้คึกครื้นชวนให้รำ ท่ารำก็ไม่เหมือนรำวงทั่วไป ตรงที่ผู้รำจะแสดงท่าทางตามเนื้อเพลง แสดงสีหน้าท่าทางให้สอดคล้องกับเนื้อเพลง โดยคู่ชาย – หญิง จะรำแบบเกี้ยวพาราสีกัน หยอกล้อกัน โดยแสดงออกทางสีหน้าท่าทางให้ผู้ชมเห็นได้ชัดเจน เนื้อเพลงที่ร้องก็จะเป็นเพลงของบรรพชนของคนโพหักได้แต่งเอาไว้ ไม่ได้เอาเพลงของที่อื่นมาร้อง จึงเป็นที่ภาคภูมิใจของคนโพหักเป็นอย่างยิ่ง เนื้อเพลงที่นำมาร้อง จะเป็นเพลงที่มีเนื้อเพลงสั้น ๆ จำได้ง่าย เวลาร้องจึงต้องร้องวนซ้ำ 3 รอบ ใช้เวลาประมาณเกือบ 3 นาที เนื้อหาในเพลงส่วนใหญ่จะบรรยายถึง ธรรมชาติ ความรู้สึก อารมณ์ และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นรอบตัว เนื้อร้องและทำนองสนุกสนานชวนรำ เพลงรำโทนโพหักจากการรวบรวมของอาจารย์มณฑิตย์สา มั่นฤกษ์ มีประมาณ ร้อยกว่าเพลง แต่อาจารย์มณฑิตย์สา เลือกมาใช้ ประมาณ 48 เพลง เพราะเป็นเพลงที่มีความไพเราะ จังหวะสนุกสนาน ท่ารำก็สวยงามและเป็นเพลงที่มีเนื้อร้องไม่เหมือนใคร เป็นเอกลักษณ์ของเรา ทั้งเนื้อเพลงและท่ารำ จะใช้ความจำสืบทอดกันมา ไม่มีการดัดแปลง จำมาอย่างไรก็ร้องและรำกันต่อ ๆ มาอย่างนั้น
จากการสอบถามผู้เฒ่าผู้แก่ที่ยังมีชีวิตอยู่และมีความรู้เรื่องรำโทนโพหัก บางคนก็เป็นลูกหลานของพ่อเพลงแม่เพลง และคนที่เคยรำโทนเล่าให้ฟังว่า สมัยจอมพล ป.พิบูลย์สงคราม เป็นใหญ่ในบ้านเมือง (นายกรัฐมนตรี) ในสมัยนั้นไม่ให้แสดงลิเก และในช่วงเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 บ้านเมืองอยู่ในภาวะสงคราม ยามคำคืนบ้านเมืองจะมีแต่ความมือไปทุกหนทุกแห่ง เนื่องจากรัฐบาลห้ามจัดงานใดๆ ห้ามจุดไฟ และจุดตะเกียง ทุกบ้านจะต้องอยู่ในความมืด เพราะกลัวเครื่องบินทิ้งลูกระเบิด ต้องพากันหลบซ่อนตามสุมทุมพุ่มไม้ และหลุมหลบภัย ทำให้ประชาชนเกิดความเหงาและวังเวง แต่ประชาชนชาวโพหัก ยามสงครามยังมีอารมณ์แต่งเพลงบรรยายสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และเอามาร้องรำกันเพื่อคลายความเหงา และความกลัว พอหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ชาวบ้านที่ชอบสนุกสนานก็ชอบนำเพลงมาร้องรำกัน หลวงพ่อแม้น เจ้าอาวาสวัดใหญ่โพหักสมัยนั้น ก็ให้การสนับสนุน จึงตั้งชื่อคณะวงรำโทน ว่า “คณะรำโทนสีทอง” และให้รำในงานวัดเรื่อยมา
ลักษณะเด่นของรำโทนโพหัก
รำโทนโพหักจะมีลักษณะโดดเด่นทั้งเพลงที่ร้องและท่าทางการร่ายรำ เพลงที่ร้องจะมีเนื้อร้องและทำนองที่สนุกสนาน ปลุกอารมณ์ให้คึกครื้นชวนให้รำ ท่ารำก็ไม่เหมือนรำวงทั่วไป ตรงที่ผู้รำจะแสดงท่าทางตามเนื้อเพลง แสดงสีหน้าท่าทางให้สอดคล้องกับเนื้อเพลง โดยคู่ชาย – หญิง จะรำแบบเกี้ยวพาราสีกัน หยอกล้อกัน โดยแสดงออกทางสีหน้าท่าทางให้ผู้ชมเห็นได้ชัดเจน เนื้อเพลงที่ร้องก็จะเป็นเพลงของบรรพชนของคนโพหักได้แต่งเอาไว้ ไม่ได้เอาเพลงของที่อื่นมาร้อง จึงเป็นที่ภาคภูมิใจของคนโพหักเป็นอย่างยิ่ง เนื้อเพลงที่นำมาร้อง จะเป็นเพลงที่มีเนื้อเพลงสั้น ๆ จำได้ง่าย เวลาร้องจึงต้องร้องวนซ้ำ 3 รอบ ใช้เวลาประมาณเกือบ 3 นาที เนื้อหาในเพลงส่วนใหญ่จะบรรยายถึง ธรรมชาติ ความรู้สึก อารมณ์ และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นรอบตัว เนื้อร้องและทำนองสนุกสนานชวนรำ เพลงรำโทนโพหักจากการรวบรวมของอาจารย์มณฑิตย์สา มั่นฤกษ์ มีประมาณ ร้อยกว่าเพลง แต่อาจารย์มณฑิตย์สา เลือกมาใช้ ประมาณ 48 เพลง เพราะเป็นเพลงที่มีความไพเราะ จังหวะสนุกสนาน ท่ารำก็สวยงามและเป็นเพลงที่มีเนื้อร้องไม่เหมือนใคร เป็นเอกลักษณ์ของเรา ทั้งเนื้อเพลงและท่ารำ จะใช้ความจำสืบทอดกันมา ไม่มีการดัดแปลง จำมาอย่างไรก็ร้องและรำกันต่อ ๆ มาอย่างนั้น
จากการสอบถามผู้เฒ่าผู้แก่ที่ยังมีชีวิตอยู่และมีความรู้เรื่องรำโทนโพหัก บางคนก็เป็นลูกหลานของพ่อเพลงแม่เพลง และคนที่เคยรำโทนเล่าให้ฟังว่า สมัยจอมพล ป.พิบูลย์สงคราม เป็นใหญ่ในบ้านเมือง (นายกรัฐมนตรี) ในสมัยนั้นไม่ให้แสดงลิเก และในช่วงเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 บ้านเมืองอยู่ในภาวะสงคราม ยามคำคืนบ้านเมืองจะมีแต่ความมือไปทุกหนทุกแห่ง เนื่องจากรัฐบาลห้ามจัดงานใดๆ ห้ามจุดไฟ และจุดตะเกียง ทุกบ้านจะต้องอยู่ในความมืด เพราะกลัวเครื่องบินทิ้งลูกระเบิด ต้องพากันหลบซ่อนตามสุมทุมพุ่มไม้ และหลุมหลบภัย ทำให้ประชาชนเกิดความเหงาและวังเวง แต่ประชาชนชาวโพหัก ยามสงครามยังมีอารมณ์แต่งเพลงบรรยายสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และเอามาร้องรำกันเพื่อคลายความเหงา และความกลัว พอหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ชาวบ้านที่ชอบสนุกสนานก็ชอบนำเพลงมาร้องรำกัน หลวงพ่อแม้น เจ้าอาวาสวัดใหญ่โพหักสมัยนั้น ก็ให้การสนับสนุน จึงตั้งชื่อคณะวงรำโทน ว่า “คณะรำโทนสีทอง” และให้รำในงานวัดเรื่อยมา
คิดถึงแม่ใหญ่จัง!!!!!!!!!!!
ตอบลบหนูรักแม่มากนะคะ